เมนู

อรรถกถาอัตถิราคสูตร ที่ 4



ในอัตถิราคสูตรที่ 4 มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
คำว่า ราโค เป็นต้น เป็นชื่อของโลภะนั่นเอง. จริงอยู่ โลภะนั้น
เรียกว่า ราคะ ด้วยอำนาจความยินดี เรียกว่า นันทิ ด้วยอำนาจความ
เพลิดเพลิน เรียกว่า ตัณหา ด้วยอำนาจความอยาก. บทว่า ปติฏฺฐิตํ
ตตฺถ วิญฺญาณํ วิรุฬหํ
ความว่า ตั้งอยู่และงอกงาม เพราะสามารถ
ทำกรรมให้แล่นไปแล้วชักปฏิสนธิมา. บทว่า ยตฺถ เป็นสัตตวิภัตติ
ใช้ในอรรถแห่งวัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3. อีกอย่างหนึ่ง บทว่า ยตฺถ นี้
เป็นสัตตมีวิภัตติ ใช้ในบทต้น ๆ ในที่ทุกแห่ง. บทว่า อตฺถิ ตตฺถ
สงฺขารานํ วุฑฺฒิ
นี้ ท่านกล่าวหมายเอาสังขารซึ่งมีวัฏฏะเป็นเหตุต่อไป
ของนามรูปซึ่งตั้งอยู่ในวิบากวัฏนี้. บทว่า ยตฺถ อตฺถิ อายตึ ปุนพฺ-
ภวาภินิพฺพตติ
ความว่า การเกิดในภพใหม่ต่อไปมีอยู่ในที่ใด.
ในคำว่า เอวเมว โข นี้ มีการเปรียบเทียบด้วยอุปมาดังต่อไปนี้.
ก็กรรมที่เกิดพร้อมและกรรมที่อุดหนุน (สหกรรมและสสัมภารกรรม)
เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน วัฏฏะอันเป็นไปในภูมิ 3 เหมือนแผ่น
กระดานฝาและแผ่นผ้า กรรมอันเป็นตัวปรุงแต่งย่อมสร้างรูปในภพ
ทั้งหลาย เหมือนช่างย้อมและช่างเขียน ย่อมสร้างรูปที่แผ่นกระดานเป็น
ต้นที่บริสุทธิ์ ในอุปมาเหล่านั้น คนบางคนเมื่อทำกรรม ย่อมทำด้วยจิตที่
เป็นญาณวิปปยุต กรรมนั้น ( ของเขา) เมื่อจะสร้างรูป ย่อมไม่ให้ความ
สมบูรณ์แห่งรูปสำหรับจักษุเป็นต้น สร้างแต่รูปที่วรรณะไม่งาม ทรวด
ทรงไม่ดี ไม่น่าพอใจแม้ของบิดามารดา เปรียบเหมือนรูปที่ช่างเขียนผู้ไม่